Where to Go

อำเภอเมือง
- อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงราย บริเวณทางแยกที่จะไปอำเภอแม่จันก พ่อขุนเม็งราย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวะ เป็นโอสรของพญาลาวเม็ง และพะนางเทพคำขยาย หรือ พระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 และเสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ 1854

- วัดพระสิงห์ อยู่ที่ถนนท่าหลวง ใกล้ศาลากลางจังหวัด เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประิดิษฐานอยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ปัจจุบัน

- วัดพระแก้ว อยู่บนถนนไตรรัตน์ เป็นวัดที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วที่กรุงเทพฯ ปัจจุบัน วัดพระแก้วที่จังหวัดเชียงราย เป็นที่ประดิษฐานพระหยก

- วัดพระธาตุดอยทอง ตั้งอยู่บนถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้น ตรงข้ามพระํธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา

- วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 11 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1208 หรือไปตามทางหลวงหมายเลข 1 สายเชียงราย - พะเยา ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการวนอุทยาน แล้วเดินเท้าไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 30 นาที ระยะทาง 1200 เมตร น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกสวยที่สูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง 70 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าสู่น้ำตกเป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น

- แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวามารถเช่าเรือจากท่าเรือรมแม่น้ำ บริเวณสะพานแม่ฟ้าหลวงในตัวเมือง เพื่อนั่งเรือชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก สองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ ระหว่างทางจะเห็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้านเล่นน้ำจับปลาอยู่ตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาต่าง ๆ เช่น อีก้อ ลีซอ กะเหรี่ยง หรือ จะแวะปางช้าง เพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณนั้นก็ได้

- พิพิธภัณฑ์อูบคำ ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 ถนนหน้าค่าย ตำบลติดกับตลาดสดเด่นห้า เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ่าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญ คือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุมากกว่า 200 ปี

อำเภอแม่จัน
- ลานทองวิลเลจ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน-ท่าตอน) ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขาและลำห้วย ขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ มีกิจกรรมี่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง การสาธิตต่าง ๆ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศทย ลาว จีน (ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา และยังมีฆ้องชัยใหญ่ที่สุดในโลกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5 เมตร


อำเภอแม่ฟ้าหลวง
- ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติตีรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองบนดอยแม่สลองมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่งให้ได้ชื่นชมกัน เช่น ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธุ์ จะเห็นดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย สุสานนายพลต้วน ผู้นำแห่งกองพัน 5 ซึ่งเสียชีวิตที่นี่ เป็นสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อนอยู่บนเขา
     การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเลยจากศูนย์ฯ ป 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อ สามแยกทางขวาปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเอง สามารถขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถว ที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร

- ดอยหัวแม่คำ จากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลอง แต่เมื่อเดนทางถึงบ้านอีก้อ สามแยกแล้วแยกเข้าเส้นทางที่ไปบ้านเทอดไทย จากนั้นจะพบทางแยกอีกครั้ง ให้เลี้ยวซ้านเข้าบ้านห้อยอิ้น ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านชาวเขา ซึ่งตั้งอย่เป็นระยะ บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดนพม่า เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโึค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3-5 ชั่วโมง ดอยหัวแม่คำเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เผ่าลีซอ เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอีก้อ ม้ง และมูเซอ นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักบนดอยหัวแม่คำ มีบ้านพัก และเต็นท์ให้บริการ หรือจะนำเต็นท์มาเองก็ด้

- พระตำหนักดอยตุง เคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี มีรปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา กับชาเลย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฝีมือช่างชาวเหนือ

- สวนแม่ฟ้าหลวง อยู่ด้านหน้าของพระจำหนักดอยตุง สร้างในปี พ.ศ. 2535 มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีดอกไม้เมืองหนาวเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
     การเดินทาง อยู่ห่างจาก 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร

- สวนรุขชาติแม่ฟ้าหลวง อย่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุตอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอน และยิ่งสวยงามมากในช่วงที่ดอกซากุระบาน ราวเดือนมกราคม ภายในบริเวณมีพระสถูปช้างมูบ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่ มีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ และยังมีต้นสน ซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและต้นน้ำอีกด้วย

- พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญ เบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย


อำเภอแม่สาย
- อำเภอแม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำสาย เป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่า เดินทางไปมาหาสู่ ค้าขายกันได้โดยเสรี นักท่องเที่ยวชาวไทย เดินทางเข้าประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.30 - 18.30 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่างราชการออกให้ ค่าบริการคนละ 40 บาท

- พระธาตดอยเวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย ก่อนถึงชายแดนแม่สายประมาณ 100 เมตร บนดอยริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง

อำเภอเชียงแสน
- อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 59 กิโลเมตร โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จัน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31 กิโลเมตร

- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน

- วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ตั้งอย่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน และ เจดีย์รายแบบต่าง ๆ 4 องค์

- วัดพระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง มีพระพุทธรูปขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประทาน ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

- วัดป่าสัก อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เขตตำบลเวียง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ระธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฎลีบุตร

- วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนเนินเขานอกตัวเมือง เป็นเจดีย์ทรงมณฑปที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าพังคราช เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบริเวณพระธาตุจอมกิตติ มีพระธาตุขนาดเล็กตั้งอยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระธาตุจอมแจ้ง และมีจุดชมทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงอยู่หลังองค์พระธาตุจอมแจ้ง มีบันไดนาค 339 ขั้น

- ทะเลสาบเชียงแสน หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นถิ่นอาศัยของนกน้ำ และนำทุ่งจำนวนมาก โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดเป็นนกหายาก บริเวณทะเลสาบมีรีสอร์ทของเอกชนให้พักหลายแห่ง การเดินทางจากตัวเมืองเชียงแสน ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตรที่ 27 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

- สามเหลี่ยมทองคำ อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย 28 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1290 เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขง และแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาย พท่า ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงาม โดยเฉพาะยามเช้า ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ด้านฝั่งพม่า และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์สามารถหาเช่าเรือได้ แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ ไกล

- พระธาตุดอยปูเข้า ตามเส้นทางเชียงแสน - สบรวก แยกซ้อยก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นถึงยอดเขาได้ พระธาตุดอยปูเข้าสร้างอยู่บนดอยเชียงเมี่ยง ิมปากน้ำรวก เป็นจุดชมวิวสามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน

- วัดพระธาตุผาเงา และวัดเจดีย์เจ็ดยอด อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสน - เชียงของ ประมาณ 4 กิโลเมตร อาจกล่าวได้ว่า วัดพระธาตุผาเงา และวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน มีบริเวณต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวาง บริเวณร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่สมกับเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม

อำเภอเชียงของ
- อำเำภอเชียงของ อย่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 114 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1129 (เชียงแสน - เชียงของ) บ้านเรือนชาวบ้านยังเป็นบ้านไม้แบบโบราณ และเชียงของยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ และแพร่พันธุ์ปลาบึกที่มีที่แม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว หากต้องการชมการจับปลาบึก สามารถขมได้ที่บ้านหาดไคร้ ดดยก่อนที่จะมีการจับปลาบึก จัดทุกวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี

- ท่าเรือบั๊ก เป็นจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาว ริมฝั่งแม่น้ำโขง และจากจุดนี้สามารถเดินทางโดยทางเรือไปถึงหลวงพระบาง-เวียงจันทร์ สปป.ลาว และกลับเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคายได้

อำเภอเวียงแก่น
- ดอยผาตั้ง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ถือเป็นจุดชมวิว ไทย-ลาว และทะเลหมอกที่สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้า นอกจากนั้นบนดอยยังมีจุดที่น่าสนใจ คือ
** ผาบ่อง ประตูสยามสู่ลาว เป็นช่องหินขนาดใหญ่ คนเดินลอดได้ อยู่ในแนวหน้าผา มองเห็นทิวทัศน์ประเทศลาวได้
** ช่องเขาขาด เป็นช่องเขาที่หินขาดจากกัน มองเห็นแม่น้ำโขงพาดผ่านตรงช่องเขาพอดี โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม ดอกนางพญาเสือโคร่งและดอกเสี้ยวจะบานสะพรั่ง งดงาม
     บนดอยผาตั้ง มีที่พัก สถานที่กางเต็นท์ และรานอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี

     การเดินทาง จากจังหวัดเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย - เวียงชัย - พญาเม็งราย - บ้านต้า (ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) 50 กิโลเมตร บ้านใต้ - บ้านท่าเจริญ (ทางหลวง 1020) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริณ - เวียงแก่น -ปางหัด (ทางหลวงหมายเลข 1155)  17 กิโลเมตร และ ปางหัด - ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน


อำเภอเทิง
- วนอุทยานภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของดอยผาหม่น อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามราวภาพวาด ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1628 เมตร ดดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ้งหญ้ากว้างแซมด้วยทุ่งโครงเคลง ที่มีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือน กรกฎาคา - เดือน มกราคม
*** การเดินทาง อยู่ห่างจากเชียงราย 111 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 เข้าสู่อำเภอเทิง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 จนถึงทางแยกขวาขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า หรือใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายเชียงราย - เทิง ลงรถที่อำเภอเทิง จากนั้นเช่ารถขึ้นไปภูชี้ฟ้า

อำเภอพาน
- พระธาตุจอมแว่ อยู่บนภูเขาจอมแว่ หมู่ที่ 2 ถนนจอมแว่ (สายเก่า) ตำบลเมืองพาน เป็นพระธาตุที่มีประชาชนชาวอำเภอพาน และอำเภอใกล้เคียงนับถือกันวาเป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์

- อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีเนื้อที่ 731,250 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูง มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วย ป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ มีความอุ้นน้ำสูง ทำให้ลำห้วยและน้ำตกในอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี อุทยานฯ ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกหลายชนิด ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์บริการ
*** การเดินทาง ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (เชียงราย-พะเยา) ไป 58 กิโลเมตร ถึงบ้านปูแกง บริเวณกิโลเมตรที่ 773 เลี้ยวขวาไปอีก 9 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

อำเภอเวียงป่าเป้า
- บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ อย่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ถนนสายเชียงราย - เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 64-65 มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ 3 บ่อ บริเวณบ่อน้ำร้อนมีชาวบ้านนำไข่มาขาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวทดสอบต้มในบ่อน้ำร้อน

- อุทยานแห่งชาติขุนแจ เดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จะถึงที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมทางบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 44-56 เป็นอุทยานที่มีความร่มรื่น สมบูรณ์ของป่า มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีสัตว์ป่าหลายชนิด อุทยานมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกแม่โถ เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี มีทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกขุนแจ เป็นน้ำตกที่สวยงาม มี 6 ชั้น บริเวณน้ำตก มีพื้นที่สำหรับปิกนิก และกางเต็นท์ ดอยมด มีพืชขึ้นหลายชนิด เช่น กล้วย ไม้ดิน เฟิร์น มอส และพืชอื่น ๆ ร่มรื่นและชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ดอยลังกาหลวง เป็นเทือกเขาสูง สภาพโดยรอบ เป็นป่าดงดิบเขาที่มีความสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำของน้ำตกแม่โถ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากที่สุดในอุทยานฯ สำหรับการเดนป่าในอุทยานแห่งชาติขุนแจ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ เดือน พฤศจิกายน-มีนาคม

- ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน - เชียงราย ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจาำอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่ มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝาง ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาว บริการถึงเชียงราย

- พระธาตุสบฝาง (อำเภอฝาง) บ้านแม่สลัก (เขตแดนเชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทยใหญ่) บ้านเมืองงาม (หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านผาใต้ (หมู่บ้านมูเซอใหม่) บ้านจะคือ (หมู่บ้านมูเซอ) บ้านผามูบใหม่ (หมู่บ้านมูเซอใหม่) โป่งน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร (หมู่บ้านกะเหรี่ยงมีบริการนั่งช้าง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น